ข้อมูลทั่วไป
ชื่อโรงเรียนบ้านคำโป้งเป้งโคตรธิสารวิทยา ที่ตั้ง หมู่ที่ 7 ตำบล ค่ายบกหวาน
อำเภอ เมือง จังหวัดหนองคาย สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โทรศัพท์ - โทรสาร - e-mail: bankhampongpeng@gmail.com website: www.kppnk1.ac.th
ประวัติโรงเรียนโดยย่อ
ชื่อโรงเรียนบ้านคำโป้งเป้งโคตรธิสารวิทยา ที่ตั้ง หมู่ที่ 7 ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมือง จังหวัด หนองคาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต ๑ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันมีนักเรียนจำนวน 65 คน มีเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา
โรงเรียนบ้านคำโป้งเป้งโคตรธิสารวิทยา เดิมชื่อโรงเรียนบ้านคำโป้งเป้ง ตั้งอยู่ที่บ้านคำโป้งเป้ง หมู่ที่ 7 ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2514 โดยเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 14ได้รับการจัดตั้งเป็นเอกเทศเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2515 โดยมีนายสุพจน์ แสนมาโนช ครูใหญ่โรงเรียนบ้านนาฮีนุเคราะห์ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 2 มีนักเรียนทั้งหมด 41 คน
พ.ศ. 2515 หลวงพ่อทองม้วน จิยธัมโม (โคตรธิสาร) วัดตนเย็นนา ได้บริจาคที่ดินจำนวน เนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา เป็นที่ตั้งโรงเรียน จึงได้นำชื่อสกุลของผู้บริจาคต่อท้ายชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนบ้านคำโป้งเป้งโคตรธิสารวิทยาดังปัจจุบัน และได้รับการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุเลขที่ นค.291
ปีการศึกษา 2558 – 2559 เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวม 8 ห้องเรียน มีข้าราชการครูจำนวน 1 คน นักเรียน 38 คน โดยโรงเรียนได้นำนักเรียนชั้น ป.4-6 จำนวน 15 คน และครูจำนวน 1 คน ไปเรียนร่วมกับโรงเรียนค่ายบกหวานโพนตาลวิทยา
ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวม 8 ห้องเรียน นักเรียน 65 คน มีข้าราชการครูจำนวน 4 คน และครูอัตราจ้าง 2 คน โดยมี นายธนภัทร สิงห์จินดา เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคำโป้งเป้งโคตรธิสารวิทยา
ข้อมูลอาคารเรียน อาคารประกอบ สถานที่
อาคารเรียน ป.1 ฉ.
อาคาร สปช.105/26(6 ห้อง)
อาคารเอนกประสงค์ สปช. 202/26
ส้วม สปช.601/25(4 ที่)
ห้องเรียนอิเลคโทรนิคส์,ห้องสมุด,ห้องคอมพิวเตอร์
ห้องพักครู,ห้องผู้บริหาร
ที่ล้างมือ,แปรงฟัน
ระบบน้ำดื่มสะอาด
ระบบน้ำดื่มสะอาด
สนามฟุตบอลขนาด 75 × 55 ต.ร.ม.
สนามวอลเลย์บอลขนาด 14×20 ต.ร.ม.
สวนเกษตร ขนาด 20 × 10 ต.ร.ม.
สนามเด็กเล่น ขนาด 5 × 10 ต.ร.ม.
ศาลาพักร้อน ขนาด 3× 3 ต.ร.ม.
ข้อมูลทรัพยากรอื่น
1 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล จำนวน 13 เครื่อง
2 คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค จำนวน 4 เครื่อง
3 โทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม เครื่องใหม่ 4 เครื่อง เดิม 3 เครื่อง รวม 7 เครื่อง
ข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
แหล่งเรียนรู้ภายใน
1) เรือนทำปุ๋ยชีวภาพ
2) แปลงเกษตรอินทรีย์
3) แปลงปลูกพืชสมุนไพร และพืชเศรษฐกิจยืนต้น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
1) พระธรรธนวัฒน์ ติกฺขปญฺโณ ด้าน ศาสนา,คุณธรรมจริยธรรม
2) นายน้อย ภาพลงาม ด้าน เกษตรอินทรีย์
3) นางนวล ไพรัตน์ ด้าน งานใบตอง
4) นางสมร พลพิทักษ์ ด้าน จักรสาน
5) นายจำลอง หวานรอบรู้ ด้าน ช่างไม้
6) นายสายันต์ ไพรัตน์ ด้าน ช่างก่อสร้าง
7) นางนัดดา หวานรอบรู้ ด้าน อาหารพื้นบ้าน
8) นายเปา บ้านบกหวาน ด้าน การนวดแผนไทย
แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน
1) วัดบุญเรืองสุวรรณาราม ระยะทางประมาณ 200 เมตร
2) วิทยาลัยเทคโนโลยีเอเชียหนองคาย ระยะทางประมาณ 300 เมตร
3) กลุ่มอาชีพในชุมชน ระยะทางประมาณ 100 เมตร
4) ระบบชลประทานหมู่บ้าน ระยะทางประมาณ 600 เมตร
5) ป่าชุมชน ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร
6) หมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง(บ้านดอนกอก) ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
7) มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร
8) วัดโพธิ์ชัย(พระอารามหลวง) ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร
9) สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร
10) ศาลาแก้วกู่ ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร
11) ตลาดอินโดจีน(ท่าเสด็จ) ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร
12)สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดหนองคาย ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร
13)ศูนย์พัฒนาหม่อนไหมหนองคาย ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร
ข้อมูลชุมชนในเขตบริการ
สภาพทั่วไปของชุมชนในเขตบริการ
1) สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะ เป็นแหล่งชุมชนชานเมือง มีประชากรประมาณ 600 คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ วัด ทุ่งนา หมู่บ้าน อาชีพหลักของชุมชน คือ เกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป การผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ ประเพณี / ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ หมอลำซิ่ง บุญบั้งไฟ
2) ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้น ป. 6 อาชีพหลัก คือ ทำนา คิดเป็นร้อยละ 90 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 10 ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ (คิดเป็นร้อยละ 99) ฐานะทางเศรษฐกิจ / รายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวต่อปีประมาณ 20,000 บาท จำนวนสมาชิกเฉลี่ยต่อครอบครัว ประมาณ 3 คน